Motion Pictures and Still Photography

FACULTY OF COMMUNICATION ARTS

ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง

      ​สื่อภาพยนตร์และภาพนิ่งเป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคดิจิตัล ทั้งในฐานะสื่อมวลชน สื่อสังคม สื่อเพื่อการตลาด สื่อภาพยนตร์และภาพนิ่งก้าวข้ามจากการเป็นเพียงสื่อสาธารณะไปสู่สื่อส่วนบุคคล ด้วยเหตุที่เป็นสื่อที่ให้ความสำคัญกับภาพและเสียง มันจึงเป็นสื่อที่เข้าถึงความนิยมของคนรุ่นใหม่ สื่อทั้งสองจึงมีประโยชน์อย่างมากในการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเนื้อหา  เพราะสามารถทำให้เรื่องที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนั้นสื่อทั้งสองยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนในสังคม นอกจากนั้นสื่อทั้งสองยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีของสังคมแต่เดิมการเรียนการสอนของภาควิชาฯมุ่งเพียงการบ่มเพาะนิสิตเพื่อให้เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปัจจุบันภาควิชาฯต้องการพัฒนาให้นิสิตสามารถเป็นผู้ผลิตที่มีความรอบรู้ทั้งในด้านการหาทุน และช่องทางการเผยแพร่ทั้งในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมและในรูปแบบและช่องทางใหม่ๆที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมดิจิตัล ด้วยการผลิตเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องเผยแพร่อยู่บนแพลทฟอร์มดั้งเดิมอย่างโรงภาพยนตร์เท่านั้นแต่รวมถึงแพลทฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่เข้าถึงคนดูในระดับนานาชาติ  
      ภาควิชาฯ จึงมีภารกิจสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานิสิตให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์จากการฝึกปฎิบัติทั้งทางด้านศาสตร์และศิลปะภาพยนตร์และภาพนิ่ง ให้มีความเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและวัฒนธรรมทั้งในประเทศและระดับโลก และพัฒนาการที่ก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการผลิตและการสื่อสาร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเพียบพร้อมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมต่อไปการศึกษาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง ภาควิชาฯได้ดำเนินการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และกอปรด้วยคุณธรรม ในฐานะที่วิชาการนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นิสิตต้องมีความรู้ทางด้านทฤษฎี และด้านการปฏิบัติ รวมถึงศิลปะ และภาษาของภาพยนตร์ควบคู่กันไป ภาควิชาฯจัดการเรียนการสอนให้ความรู้ที่เป็นศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับทฤษฎี การวิจัย สุนทรียศาสตร์ การวางแผน การวิเคราะห์ และวิจารณ์ภาพยนตร์ ส่วนความรู้ด้านศิลปะ ได้แก่ การศึกษาในเชิงลึกของศิลปะการเขียนบทภาพยนตร์ การกำกับ การถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อ ตลอดจนศิลปะการถ่ายภาพนิ่ง และการประยุกต์คอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานกับงานผลิตภาพยนตร์ได้ ดังนั้น นิสิตจึงต้องศึกษาวิชาต่างๆในเชิงบูรณาการ เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถที่จะคิดสร้างสรรค์งานข้ามสื่อ อาทิ การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์  

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการติดต่อกับอาจารย์ในภาควิชา กรุณาติดต่อ เจ้าหน้าที่ประจำภาค คุณกนกพร คีรีประสพทอง โทรศัพท์ 0-2218-2150

หลักสูตร

คณาจารย์

หัวหน้าภาควิชา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภาวรรณ บุญนิมิตร

● Ph.D. (Fine Arts in Visual Arts), Malmo Art Academy, Lund University, Sweden, พ.ศ. 2549

● Ph.D. (Candidate History of Arts), Goldsmiths College, University of London, UK, พ.ศ. 2543

● M.A. (Communication Arts in Film), New York Institute of Technology, U.S.A., พ.ศ. 2539

● Post-Baccalaureate (Motion Pictures), Academy of Art University, U.S.A., พ.ศ. 2538

● พธ.บ. (บริหารทรัพยากรบุคคล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2537

Leave2remain0@gmail.com

Google Scholar

คณาจารย์ประจำภาควิชา

รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา จักกะพาก

● ป.ด. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) (พัฒนศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร

● นศ.ม. (นิเทศศาสตรพัฒนาการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● นศ.บ. (การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ratana.c@chula.ac.th

Google Scholar

อาจารย์ณัฐนัย เลิศปรีชาภักดี

● Master of Fine Arts, (Film Production/ Cinematography Emphasis), Chapman University, พ.ศ. 2557

● นศ.บ. (นิเทศศาสตร์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

Nutac120@me.com

Google Scholar

อาจารย์นฤพนธ์ หิญชีระนันทน์

● Master of Photography, (Photography), SPEOS Photographic Institute Paris University, France, 2560

● นศ.บ. (ภาพยนตร์และภาพนิ่ง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557

Narupon.hinshiranan@gmail.com

Google Scholar

อาจารย์ธนพล เชาวน์วานิชย์

● นศ.ม. (สื่อสารการแสดง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

● นศ.บ. (การภาพยนตร์และภาพนิ่ง) (เกียรตินิยมอันดับสอง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550

thanapoldew@gmail.com

Google Scholar

อาจารย์ ดร.ไกรวุฒิ จุลพงศธร

● Ph.D. (Film Studies), Queen Mary University of London, UK, พ.ศ. 2561

● M.A. (Film Studies), Queen Mary University of London, UK, พ.ศ. 2555

● นศ.บ. (การประชาสัมพันธ์) (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

teandyou@hotmail.com

Google Scholar

เจ้าหน้าที่ภาควิชา

ข่าวสารของภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง

ติดต่อภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง

ภาควิชาภาพยนต์และภาพนิ่ง ชั้น 2 อาคาร 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เจ้าหน้าที่ภาควิชา  คุณกนกพร คีรีประสพทอง 
โทรศัพท์ 0-2218-2150