ขอเชิญชวนส่งบทความวิชาการ WHY Y?
“ผมไม่ได้ชอบผู้ชาย แต่ผมชอบผู้ชายแบบคุณเท่านั้น” เมื่อพระเอกบอกรักนายเอก เรื่องราวความบังเอิญรักของชาว Y (Yaoi) หรือ Boy Love ก็เบ่งบานขึ้นและสร้างกระแส “เพื่อนกูรักมึงว่ะ” กว่าสองทศวรรษในสื่อบันเทิงไทยและต่างประเทศ
WHY Y? โครงการตำราและเอกสารวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จึงขอเชิญชวนท่านมาร่วมถอดบทเรียนปรากฏการณ์เดือนเกี้ยวเดือน ชวนพิเคราะห์จูบสุดท้ายเพื่อนายคนเดียว วิจารณ์แนวคิดพี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง ช่วยกันถอดรหัสความหมายความรักชาว Y ว่าเป็นสื่อจินตคดีร่วมสมัย วรรณกรรมความรักพาฝัน การครอบงำทางวัฒนธรรม การเมืองชาว LGBTQs ผลสะท้อนเรื่องเพศ(ไม่)ศึกษา หรือ เครื่องมือเชิงพาณิชย์ของสื่อบันเทิง กันแน่ กิจกรรมฟินจิกหมอน อ่านเพลิน เขินตัวม้วนครั้งนี้ ขอเชิญชวนคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ร่วมส่งงานเขียนเพื่อรวมเล่มบทความวิชาการ สำหรับเผยแพร่ชุดความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์สื่อกับวัฒนธรรม Y ดังนี้
ขั้นนตอนที่ 1: ส่งบทคัดย่อ
• บทคัดย่อที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์สื่อและวัฒนธรรม Y (Yaoi) หรือ Boy Love ในประเทศไทย และ ต่างประเทศ
• ส่งบทคัดย่อ (จำนวน 400 คำ) และ รายละเอียดผู้เขียน หน่วยงานในคณะนิเทศที่สังกัด หรือ ปีการศึกษาของนิสิต และที่มาของบทความ เช่น งานวิจัย รายงานในชั้นเรียน ความสนใจส่วนตัว (ไม่เกิน 50 คำ)
• ส่งทางอีเมล์ comm.arts.cu@gmail.com re: WHY Y ก่อน 30 พฤศจิกายน 2564
• แจ้งผลการรับบทคัดย่อทางอีเมล ภายในเดือนธันวาคม 2564
ขั้นตอนที่ 2: เขียนบทความวิชาการ
• เมื่อท่านได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการฯ บทความที่ท่านส่งต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร หรือ โครงการเผยแพร่อื่น ๆ
• เวลาเขียนประมาณ 4 เดือน หรือส่งก่อน สิ้นเดือนมีนาคม 2565
• เนื้อหาในบทความตามมาตรฐานวิชาการ
- ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 18 พอยท์
- บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ภาษาละไม่เกิน 250 คำ
- ประวัติผู้เขียน (ไม่เกิน 50 คำ) ใส่ที่เชิงอรรถ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- บทนำ
- ประเด็น/คำถามที่สนใจศึกษา
- เนื้อหา
- บทสรุป
- รายการอ้างอิง*
• รูปแบบ
- ความยาวของบทความ อยู่ระหว่าง 15-20 หน้า รวมบรรณานุกรม (ประมาณ 4000- คำ)
- ส่งไฟล์ในรูปแบบ Word Doc และใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ การตั้งค่าหน้ากระดาษ พิมพ์ในขนาดกระดาษ A4 ตั้งระยะขอบกระดาษบนและล่าง ซ้ายและขวา 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ระยะบรรทัด 1.0 (single space) พร้อมระบุเลขหน้ามุมบนขวาของหน้ากระดาษ
- ภาษาของบทความ: ภาษาไทย และ/หรือ อังกฤษ
- รูปแบบการอ้างอิง APA
- หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐาน การอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์แนบมาด้วย
ขั้นตอนที่ 3: บรรณาธิกรณ์และส่งผู้ทรงคุณวุฒิ
• บทความที่ส่งมาแล้วจะได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ (เฉพาะกิจ) ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ผู้เขียนนำไปปรับปรุงแก้ไข ภายในเวลา 1 เดือน (เมษายน)
• หลักการปรับปรุงแก้ไขแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดให้ผุ้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พิจารณา (ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน) หากมีข้อแก้ไขเพิ่มเติม สามารถทำได้ภายในเวลา 1 เดือน
ขั้นตอนที่ 4: ตีพิมพ์เผยแพร่
• บทความที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดจะถูกจัดเตรียมเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่โดยโครงการตำราและเอกสารวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ