ข่าวสารและกิจกรรม

งานสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย "สงกรานต์" ประจำปี 2562

Posted on : 2019-04-03

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมปีใหม่ไทย "สงกรานต์" วันพุธที่ 3 เมษายน 2561 
ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ รองศาสตราจารย์รุ่งนภา พิตรปรีชา รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณาจารย์ และบุคลากร โดยมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ สรงน้ำพระ และร่วมรดน้ำขอพรจาก ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ยุบลเบ็ญจรงค์กิจ และ รองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ณ โถง ชั้น 1 อาคารมงกฎสมมติวงศ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรในการทำงานต้อนรับปีใหม่ไทย 2562 นี้

สงกรานต์เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย 
สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม

สงกรานต์มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ กล่าวคือ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ
อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่
ราศีเมษ เรียกว่า"วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า"วันเนา" (ภาษาเขมร แปลว่า"อยู่ ") และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช และเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"