Posted on : 2018-08-17
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2561 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนา เรื่อง "คิดจากเคสถ้ำหลวง : สื่อสารอย่างไรในภาวะวิกฤต" ณ หอประชุมชั้น 11 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ เปิดการเสวนาและกล่าวต้อนรับ คณาจารย์ นิสิต ผู้สื่อข่าวและผู้สนใจเข้าร่วมฟังครั้งนี้
สำหรับการเสวนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล อาจารย์ประจำภาควิชาการประชาสัมพันธ์ อ.ดร.ปภัสสรา ชัยวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง อ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
เนื้อหาสาระในการเสวนาครั้งนี้ แบ่งประเด็นออกตามความเชี่ยวชาญของวิทยากรแต่ละท่าน โดยเริ่มจาก ผศ.ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล กล่าวถึงกรณีศึกษาในด้านการสื่อสารเพื่อการจัดการในภาวะวิกฤตของเหตุการณ์ดังกล่าว อ.ดร.ปภัสสรา ชัยวงศ์ วิเคราะห์ในส่วนภาวะการเป็นผู้นำ และการสื่อสารทั้งผ่านวัจนะและอวัจนะภาษา และ อ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง นำเสนอประเด็นของการนำเสนอภาพข่าว เนื้อหาของข่าวในภาวะวิกฤตจากสำนักข่าวทั้งในและต่างประเทศ
สรุปเนื้อหาเสวนาวิชาการ หัวข้อ คิดจากเคสถ้ำหลวง “สื่อสารอย่างไรในภาวะวิกฤต”
จากกรณีเด็กติดถ้ำหลวงทั้ง 12 ชีวิตของทีมหมูป่าอะคาเดมี่ และผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอีก 1 คน ที่เป็นข่าวใหญ่ทั้งในและต่างประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดเวทีเสวนาถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าวผ่านมุมมองของนักวิชาการทางนิเทศศาสตร์ ร่วมกันถอดบทเรียนจากกระบวนการทำงานของทีมช่วยเหลือ รวมถึงการนำเสนอของสื่อมวลชนด้วย กับการทำงานเพื่อช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย
การสื่อสารในภาวะวิกฤต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธาตรี ใต้ฟ้าพูล รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านการสื่อสารภาวะวิกฤต กล่าวว่า จากภาวะวิกฤตในกรณีถ้ำหลวงนั้นถือว่าไมใช้วิกฤตที่ไม่หนักมากเพราะสามารถจำกัดความเสียหายต่างๆ ได้ และถือว่าการสื่อสารในภาวะวิกฤตครั้งนี้ถือว่าสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นไม่อยู่ที่จะพบผู้ประสบภัยทั้งหมดออกมาได้ แต่ประสบความเสร็จในด้านการสื่อสารที่สามารถทำ
ยังกล่าวต่อไปว่าในการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ในภาวะวิกฤตนั้นผู้ที่เป็นผู้นำนั้นควรสนใจทั้ง Fact และ Truth และต้องนำ Fact และ Truth มาวิเคราะห์ โดย Fact คือ ข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์ ส่วน Truth คือ ความจริง ที่เป็นความเชื่อของคนในพื้นที่ อย่างที่เห็นจากการเชิญร่างทรงต่างๆ และไม่ควรปฏิเสธทั้ง Fact และ Truth เพราะถ้าไม่สนใจแค่ Fact ก็จะทำงานไม่ได้ แต่ถ้าไม่สนใจ Truth นั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มา และในการบริหารจัดการนั้นก็แบ่งทั้งสองส่วนให้เท่ากันโดยใช้ Fact ให้อยู่ในการควบคุม และ Truth ประเมินต่างๆ ให้ได้
นอกจากนี้ยังเน้นย้ำว่าในการทำงานในบริหารจัดการวิกฤตนั้น ต้องกำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ โดยการทำงานบริหารจัดการในภาวะวิกฤตนั้น คือ การหยุดยั้งโดยเร็ว แล้วเริ่มจำกัดขอบเขต แล้วค่อยฟื้นฟู ซึ่งเป้าหมายของการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายนั้น คือ การค้นหา กู้ภัย และส่งกลับ ซึ่งตรงกับหลักการทำงานของการจัดการภาวะวิกฤต
และสุดท้ายในการจัดการภาวะวิกฤตนั้น ขึ้นอยู่ที่การสื่อสารต้องควบคุมให้ได้ ซึ่งจากการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวังเชียงรายนั้นสามารถควบคุมการสื่อสารต่างๆ ให้ออกมาจากแหล่งเดียวได้ จึงทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และน่าเชื่อถือให้มากที่สุด และสิ่งที่น่าทึ่งมากที่สุดของการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดคือ สามารถทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นทีมเดียวกัน ในที่นี้คือทั้งคณะทำงานและผู้ที่ติดตามข่าวสารนั้น สามารถควบคุมกันเองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางได้
การวิเคราะห์สื่อสารของผู้นำ
อาจารย์ ดร. ปภัสสร ชัยวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านวาทวิทยา กล่าวว่า จากการตั้งทีมของการช่วยเหลือเป็นทีมที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ ซึ่งอาจารย์เรียกว่า Team (that) work ซึ่งเป็นทีมตั้งขึ้นมาจากสถานการณ์ต่างๆ เรียกร้องให้เกิดขึ้นมา โดยลักษณะขอภารกิจของทีมนี้คือ การต่อสู้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ สถาการณ์แวดล้อม และเวลา
อาจารย์มองว่าฐานรากของความสำเร็จทั้งหมดเกิดจาก “คน” จะเห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้สร้างทุกคนให้มีจิตวิญญาณเดียวกัน สร้างคนให้มีความเชื่อเดียวกัน และสร้างความหวังให้เกิดขึ้นกับคนทุกคนเหมือนกัน จึงทำให้เกิดกระบวนการสร้าง Same Spirit และเมื่อสร้างจิตวิญญาณเดียวกันแล้วก็จะทำให้เห็นโครงสร้างและกลยุทธ์ในการทำงานต่างๆ ก็จะทำให้ภาระกิจต่างๆ นั้นสำเร็จได้
เมื่อพูดถึงการสื่อสารในภาวะผู้นำของผู้ว่าราชการจังหวัดในเหตุการณ์นั้นที่สำคัญที่สุด คือ การพูดอย่างไรก็ก็ได้ให้เกิดพลังบวก (Synergy) เพื่อสร้างพลังร่วมให้เกิดมากที่สุด โดยเลือกคณะทำงานที่สามารถช่วยภารกิจนี้ได้มากที่สุดมากก่อนเท่าที่จำเป็น และค่อยๆ เลือกทีมอื่นๆ มาทีหลังจากนั้นก็พูดเพื่อสร้างพลังให้กับทีม และเมื่อเกิดคนที่ไม่สามารถเข้าทำงานได้ก็จะเชิญออกจากบริเวณนั้นไปก่อ่นเพื่อรักษาไว้ซึ่งบรรยากาศของการทำงานให้ดีที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดของทีมที่สร้างขึ้นมาอย่างเฉพาะกิจและมีอาสาสมัครที่หลากหลายกว่า 10,000 ชีวิตนั้น คือ “ความเชื่อใจ” เพราะเมื่อเรามาจากหลายฝ่ายย่อมมีความไม่เชื่อใจกันมาอยู่แล้ว แต่การทำงานเป็นทีมนั้น ผู้นำต้องเชื่อใจคนในทีมทั้งหมดว่าสามารถทำได้ และคนในทีมต้องเชื่อใจผู้นำเช่นกัน โดยการแบ่งข้อมูลให้ทั้งทีมเข้าใจเท่ากัน
อาจารย์แนะนำว่าในการสื่อสารในภาวะวิกฤตนั้น ผู้ให้ข่าว หรือ ผู้ที่เป็นคนสื่อสารให้ข้อมูลจากทีมสู่ภายนอกนั้นควรออกมาจากแหล่งเดียว เพื่อสร้างความเข้าใจต่างๆ ที่ตรงกัน และในการให้ข่าวต่างๆ นั้นควรสั้น กระชับ และเป็นประโยชน์มากที่สุด
อาจารย์ตั้งข้อสังเกตกับวิธีการสื่อสารของผู้ว่ารายการจังหวัดเชียงรายในเวลานั้น พบว่า จากอวัจภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดในการสื่อสาร) นั้นท่านจะใช้นำเสียง สีหน้า แววตา จะพบว่าท่านเป็นคนทำงานอย่างจริงจัง และทำงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนร่วม และวิธีการสื่อสารด้วยทั้งวัจนภาษาและอวัจภาษาของท่านตลอดตั้งแต่การออกมาให้ข่าวเป็นระยะๆ หรือตอนแถลงข่าวนั้น สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึก และสัมผัสได้ว่าเป็นคนที่มีเจตนาที่ดีต่อทุกคน และมีบุคลิกลักษณะที่ดีกับทุกคนเช่นกัน
การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนต่างๆ
อาจารย์ ดร. เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่า หน้าที่ของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤตนั้น คือ ต้องเคารพหน้าที่ของตน ยกตัวอย่างเช่นในสถานการณ์ถ้ำหลวงนั้นหน้าที่ คือ การนำผู้ประสบภัยออกมาจากถ้ำ และสื่อก็มีหน้าที่รายงานสถานการณ์อย่างถูกต้อง
อาจารย์เจษฎา ศาลาทอง ตั้งขอสังเกตว่าปรากฏการ์ณที่น่าสนใจของการทำหน้าที่สื่อในสถานการณ์นี้ “แมลงตอมแมลงวัน” คือ การที่สื่อทำหน้าที่ตรวจสอบด้วยกันเอง และสร้างความถูกต้องกันและกัน ยกตัวอย่าง มีช่องโทรทัศน์ช่องหนึ่งนำเสนอว่าตัวเองอยู่ในพื้นที่ทางเจ้าหน้าที่ให้อยู่ เป็นต้น จึงทำให้ทางช่องนั้นได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากคนดูเป็นอย่างมาก
อาจารย์เจษฎา แนะนำว่า การนำเสนอสื่อต่างๆ นั้นควรนำเสนอให้ง่ายและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ใน เว็บไซต์ของ China Moring post มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และนำเสนอให้เห็นภาพที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอมากที่ และสุดท้ายนั้นในการทำงานหน้าที่ของสื่อนั้น ซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่ของสื่อที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนกับผู้รับสารมากที่สุด